Socail Media

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Paradise Park Concept

พาราไดซ์ พาร์ค วางคอนเซ็ปต์ในแต่ละชั้นให้เป็นสวรรค์ต่างๆ โดยชั้น G เป็นสวรรค์ของนักชิม มีซูเปอร์มาร์เกต กรูเมต์ มาร์เกต ที่สยามพิวรรธน์ทำร่วมกับเดอะมอลล์ Seri Marche ตลาดนัดติดแอร์สไตล์ฝรั่งเศส Food Bazaar อาหาร Take Away และเบเกอรี่ ตลอดจนอาหารเพื่อสุขภาพ ชั้น 1 ประกอบด้วย Fashion Avenue รวบแบรนด์ดังจากย่านสยามเซ็นเตอร์ ร้าน SportsWorld และ ร้านลอฟท์ ซึ่งจะเป็นร้านที่เหมือนต้นฉบับจากญี่ปุ่น ชั้น 2 เป็น ศูนย์รวมไอที คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และธนาคารต่างๆ ชั้น 3 เป็น Dining Paradise รวมแหล่งร้านอาหารระดับภัตตาคาร พร้อมด้วย สถาบันการศึกษา โรงภาพยนตร์ และศูนย์บริการสุขภาพ ชั้น 4 เป็นทรูฟิตเนส The Sky - The First Outdoor Roof-top Sunday Market ยกตลาดนัด Weekend Market กว่า 100 ร้านค้า พร้อมประสบการณ์การชอปปิ้งแบบต่อรองได้ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ดาดฟ้าเพื่อรองรับเทศกาลลานเบียร์ในช่วงฤดูหนาว และรองรับกิจกรรมเคานต์ดาวน์ปีใหม่ซึ่งดึงดูดลูกค้าได้จำนวนมาก

“ศรีนครินทร์เป็นพื้นที่สีส้มที่ห้างขนาดใหญ่กว่า 10,000 ตารางเมตรไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก คู่แข่งใหม่ๆก็มีแต่เนเบอร์ฮู้ดมอลล์ ที่มีขนาดเล็ก ให้บริการได้ไม่ครอบคลุม ส่วนอิเกีย เราก็ไม่กลัว เพราะอะไรที่ใหญ่เกินไปมักจะคุม Theme ไม่ได้ พาราไดซ์ พาร์ค ของเรา 290,000 ตารางเมตร ลูกค้าสามารถเดินเจอทุกร้าน” ชฎาทิพ จูตระกูล กล่าว

เสรีเซ็นเตอร์ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2537 โดยมุ่งจับตลาดระดับบน ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมามีความพยายามในการปรับศูนย์ให้เป็นเอ็ดดูเคชั่นเซ็นเตอร์ ต่อมาก็ปรับเป็นศูนย์ไอที ซึ่งก็ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้มาก อีกทั้งยังมีภาพของการเป็นห้างของผู้สูงอายุ โดยมีลานกิจกรรมและเป็นที่พบปะ ซึ่งผิดไปจากที่เสรีเซ็นเตอร์คาดการณ์ไว้ ประกอบกับในห้วงเวลาดังกล่าวการขยายตัวของเมืองยังไม่มากเท่าปัจจุบันที่บ้านโครงการหรูมากมายไปก่อสร้างในย่านศรีนครินทร์

ทั้งนี้จากการสำรวจตลาดทำให้สยามพิวรรธน์พบว่า ในย่านดังกล่าวมีการขยายตัวของลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในเขตพื้นที่โดยรอบไม่ว่าจะเป็น เขตประเวศ พระโขนง บางนา สวนหลวง บางกะปิ สะพานสูง โดยมีปัจจัยมาจากการเพิ่มจำนวนของโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่และระดับปานกลางถึงราคาสูง ทั้งโครงการบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม และ อพาร์ตเมนต์ กว่า 70 โครงการ ที่อยู่รายล้อมเสรีเซ็นเตอร์ ตลอดจนการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งส่งผลให้อัตราการขยายตัวเมืองในโซนตะวันออกของกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

จากผลการวิจัยยังพบว่ารายได้ต่อครัวเรือนของประชากรในพื้นที่โดยรอบมีจำนวนครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือนมีสูงถึง 43% ของครอบครัวทั้งหมด ในขณะที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานครมีอัตราเพียง 20% เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นย่านที่มีการกระจุกตัวของผู้มีรายได้สูง โดยมีครอบครัวจำนวนกว่า 28,000 ครอบครัวในเขตพื้นที่โดยรอบเสรีเซ็นเตอร์มีรายได้สูงกว่า 100,000 บาทต่อเดือน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กลุ่มสยามพิวรรธน์และเอ็มบีเคตัดสินใจซื้อเสรีเซ็นเตอร์























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น